ควันบุหรี่ ภัยร้ายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

พิมพ์

ควันบุหรี่ ภัยร้ายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้ที่สูดดมเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สูบหรือไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม เพราะในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด ผู้ที่สูดดมควันบุหรี่เป็นประจำอาจเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคปอด โดยเฉพาะเด็กและทารกที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไป อาจเสี่ยงเผชิญปัญหาสุขภาพมากกว่าช่วงวัยอื่น เช่น โรคในระบบทางเดินหายใจอย่างหอบหืด โรคติดเชื้อต่าง ๆ รวมถึงโรคไหลตายในทารก เป็นต้น

1416 ควันบุหรี่ Resized

นอกจากการสูบบุหรี่โดยตรงแล้ว การได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไม่ต่างกัน โดยบทความนี้จะกล่าวถึงอันตรายจากควันบุหรี่มือสองเป็นหลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมาทางลมหายใจ และควันบุหรี่จากบุหรี่ที่กำลังเผาไหม้ ซึ่งมีปริมาณสารเคมีอันตรายมากกว่าและมีอนุภาคขนาดเล็กกว่า ทำให้เคลื่อนที่เข้าไปในปอดและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ง่าย

สารเคมีอันตรายในควันบุหรี่

ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด โดยต้นยาสูบอันเป็นวัตถุดิบหลักที่นำมาแปรรูปเป็นบุหรี่มีสารเคมีอันตราย 2 ชนิด ได้แก่ แคดเมียมและตะกั่ว จากนั้นสารเคมีอีกหลายชนิดจะถูกสร้างขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต และเมื่อจุดบุหรี่ การเผาไหม้จะทำให้สารเคมีชนิดใหม่เกิดขึ้นอีก ภายในควันบุหรี่จึงประกอบไปด้วยสารเคมีมากถึง 7,000 ชนิด ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างน้อย 250 ชนิด และยังมีสารเคมีอีกอย่างน้อย 70 ชนิดที่ก่อมะเร็งได้ เช่น อะซีทอลดีไฮด์ เบนซีน โครเมียม แคดเมียม ฟอร์มาลดีไฮด์ นิกเกิล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาจึงจัดให้ควันบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งในคนด้วย

อันตรายจากควันบุหรี่

การสูดดมควันบุหรี่ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายประการ และยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่าง ๆ ดังนี้

นอกจากนี้ เด็กและทารกอาจเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มากกว่าคนในช่วงวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่มักพบ มีดังนี้

หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ได้อย่างไร ?

สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนรอบข้าง สูบบุหรี่เฉพาะบริเวณที่กำหนดไว้ เปลี่ยนเสื้อผ้าและล้างมือที่อาจปนเปื้อนสารเคมีจากควันบุหรี่ก่อนสัมผัสหรืออุ้มเด็กและทารก หรือตัดสินใจเลิกบุหรี่ โดยสามารถขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการเลิกบุหรี่ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1600 หรือปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีคลินิกเลิกบุหรี่

ส่วนผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการสูบดมควันบุหรี่

อ้างอิง : https://www.pobpad.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B

 

ÂÂ