องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด

Please wait while JT SlideShow is loading images...
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean Vietnamese

ความรู้เรื่องหมวกกันน็อค

อีเมล พิมพ์ PDF
ความรู้เรื่องหมวกกันน็อค

การสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มีประโยชน์มากกว่าที่เราคิดมากๆเลยนะคะ
เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุนั้นหมวกกันน็อคจะสามารถป้องกันศีรษะผู้ขับขี่โดยอาศัยการดูดซับและถ่ายเทแรงกระแทกของวัสดุ วัสดุชั้นนอกหรือ “shell” ทำหน้าที่การป้องกันการเจาะกระแทกของวัสดุแหลมคมและป้องกันการเสียดสีอย่างแรงโดยดูดซับแรงกระแทกขั้นต้นที่เกิดจากอุบัติเหตุ

และสามารถ ช่วยลดความเสี่ยง และความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ถึง 72% และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 39% ในกรณีที่ใช้ความเร็วไม่สูงมากนักขณะเกิดอุบัติเหตุด้วยค่ะ

สำหรับมาตรฐานหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคสำหรับประเทศไทยได้กำหนดเป็นมาตรฐาน มอก. 369-2539 โดยมาตรฐานได้กำหนดลักษณะที่สำคัญของหมวกกันน็อคไว้หลายประการเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดอุบัติเหตุต่อศีรษะของผู้สวมใส่เป็นสำคัญ เช่น หมวกกันน็อคมาตรฐานต้องมีความแข็งแรง น้ำหนักเบาไม่เกิน 2 กิโลกรัม มีรูระบายอากาศ มีช่องฟังเสียง บังลมต้องเป็นวัตถุโปร่งใสและไม่มีสี เป็นต้น
หมวกกันน็อคที่ผลิตขึ้นมาจึงต้องมีการทดสอบตามมาตรฐานก่อนออกจำหน่าย ได้แก่ การทดสอบแรงกระแทกและความสามารถในการดูดซับแรงกระแทก (impact) ความทนทานต่อการเจาะทะลุจากวัตถุมีคม (penetration) ความกระชับในการสวมใส่ (retention) และการมองเห็นขณะสวมใส่ (peripheral vision) ซึ่งอย่างน้อยควรมีค่า 120องศา เนื่องจากปกติค่ามุมมองการเห็นของตามนุษย์มีค่าระหว่าง 110-115 องศา ในต่างประเทศหมอกกันน็อคจำเป็นต้องมีวัสดุสะท้อนแสงตามขนาดที่กำหนดติดไว้เพี่อความปลอดภัยยามค่ำคืนอีกด้วยค่ะ

องค์ประกอบหลักๆของหมวกกันน็อค มีดังนี้

เปลือกนอก - ทำจากวัสดุชนิดพิเศษ จะต้องแข็งแรง น้ำหนักเบา เพื่อสามารถทนแรงกระแทกจากของแข็ง และของมีคมได้โดยไม่แตก หรือทะลุได้ง่าย

รองใน - เป็นชั้นบุที่ทำมาจากวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ความหนาแน่นสูง สามารถรับและกระจายแรงกระแทกได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากแผ่นโฟมชนิดโพลีสไตรีนที่ยืดออก หรือเรียกว่า "สไตโรโฟม"

แผ่นกันลม - ติดอยู่ด้านหน้าของหมวกกันน็อค สำหรับป้องกันแสง ฝุ่น ฝน แมลง ฯลฯ ที่จะเข้าตาในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ มีทั้งชนิดใส เพื่อใช้ในเวลากลางคืน และชนิดทึบเพื่อใช้ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด สามารถถอดเปลี่ยนได้ 

เบาะหุ้มภายใน - ส่วนประกอบที่เพิ่มความอ่อนนุ่มขณะสวมใส่ สามารถถอดออกได้เพื่อทำความสะอาด

สายรัดคาง - ทำหน้าที่รัดให้หมวกกันน็อคติดแนบกับศีรษะไม่หลุดง่าย แต่ต้องรัดให้ถูกวิธี หากรัดไว้หลวมๆ หรือไม่รัด หมวกอาจหลุดออกจากศีรษะโดยง่ายเป็นเหตุให้ศีรษะยังคงเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย และบาดเจ็บเสมือนไม่ได้สวมหมวก 

ช่องระบายอากาศ - ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนภายในหมวกให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายขณะที่สวมใส่ จะต้องมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร และต้องออกแบบอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย

นอกจากเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่แล้วการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคนั้นยังเป็นไปตามกฏหมายจราจรกำหนดไว้อีกด้วยนะคะ

**พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 )

มาตรา 122 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย

ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ซึ่งหากมีการฝ่าฝืน จะต้องโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

สำหรับหมวกกันน็อคนั้น มี 3 แบบ ได้ดังนี้

alt

- แบบเต็มใบ แบบเต็มหน้า (Full Face)
สามารถป้องกันศีรษะทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และบริเวณคาง โดยทั่วไปจะมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม
จะมีลักษณะปกคลุ่มทั้งหมดของศรีษะ จะเริ่มตั้งแต่ท้ายทอยจนถึงศรีษะ ด้านหน้าจะมีกระจกกันลม ที่ช่วยปังลมหรือปังฝุ่นและแมลง หมวกกันน็อคแบบเต็มใบจะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ฉะนั้นควรเลือกขนาดที่พอเหมาะกับศรีษะของตัวเองด้วยนะค

 

alt

- แบบเต็มใบหรือเปิดหน้า (Open face)
สามารถปกป้องศีรษะทั้งส่วนบนส่วนล่าง และบริเวณส่วนหลัง ตลอดจนบริเวณกกหู มีน้ำหนักปานกลางประมาณ 700 กรัมถึง 1 กิโลกรัมมีลักษณะคล้ายกับหมวกกันน็อคแบบเต็มใบแทบทุกอย่าง แต่หมวกกันน็อคแบบนี้จะไม่ช่วยป้องกันบริเวณคางที่เป็นจุดสำคัญของศรีษะ ด้านหน้ามีกระจกกันลม ปกป้องฝุ่นละอองอากาศได้ดีด้วยค่ะ

alt

- แบบครึ่งใบ (Half Helmet)
จะมีลักษณะปกคลุมแค่บริเวณศรีษะ จึงเป็นหมวกกันน็อคที่มีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ แต่จุดเด่นของมันจะมีน้ำหนักที่เบาและใส่สบายค่ะ

เลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการขับขี่ด้วยนะคะ

ข้อมูลจาก http://www.klongthom.co.th/sara1000-detail.php?param=84&name=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%84

Â