องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด

Please wait while JT SlideShow is loading images...
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean Vietnamese

วิธีเตรียมพร้อมรับมือพายุ แนะวิธีป้องกันตัวให้ปลอดภัย

อีเมล พิมพ์ PDF

สพฉ.เตือนประชาชนในพื้นที่เตรียมพร้อมรับมือพายุ แนะวิธีป้องกันตัวให้ปลอดภัย

เจ็บป่วยฉุกเฉินโทร 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

น.พ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย "พายุโซนร้อน แกมี ฉบับที่13ลงวันที่4ตุลาคม2555 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ950กิโลเมตร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณกม./ชม. โดยคาดว่า พายุนี้จะทวีกำลังแรงขึ้น และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามในวันที่6ตุลาคมลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ตุลาคม2555บริเวณประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่กับมีลมแรงนั้นสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยได้ประสานเตรียมเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายกู้ชีพให้เตรียมพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น และประสานตรวจสอบสัญญาณข่ายการช่วยเหลือให้มีความพร้อม ทั้งนี้หากเจ็บป่วยฉุกเฉินประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือได้ที่โทรสายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตามในส่วนของประชาชนเองก็ต้องเตรียมความพร้อมเช่นกันในกรณีที่เกิดพายุ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจะต้องฟังประกาศเตือนภัย และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องเตรียมการในเบื้องต้นเพื่อระวังภัยโดยการตรึงประตู หน้าต่าง ให้มั่นคง ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรขณะฝนตกฟ้าคะนอง เตรียมอุปกรณ์จำเป็น เช่น เทียนไข ไฟฉาย ยาประจำตัวติดตัวตลอด ขณะฝนตกฟ้าคะนองห้ามอยู่ใต้ต้นไม้ เสาไฟ และห้ามโทรศัพท์เด็ดขาด หากรู้สึกว่าบ้านกำลังจะพังให้ห่อตัวเองด้วยผ้าห่ม หลบใต้โต๊ะ ใต้เตียง หรือที่แข็งแรงมั่นคง หากเกิดดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยง ให้สังเกตสัญญาณเตือนภัยของเหตุดินโคลนถล่ม เช่น เสียงต้นไม้หัก หินก้อนใหญ่ตกลงมา น้ำมีสีขุ่น อพยพไปในพื้นที่สูงและมั่นคง ตามเส้นทางที่เตรียมการไว้ เมื่อได้รับสัญญาณเตือนภัย ตั้งสติ ท่องไว้ "รักษาชีวิตก่อน ทรัพย์สินไว้ทีหลัง" ให้นำของใช้เฉพาะที่จำเป็นติดตัวไปเท่านั้นหากพลัดตกน้ำ หาต้นไม้ใหญ่เกาะ รีบขึ้นจากน้ำให้ได้ หากหนีไม่ทัน ให้ม้วนตัวเป็นทรงกลมให้มากที่สุด เพื่อป้องกันศีรษะกระแทก

สำหรับพื้นที่เสี่ยง"พายุโซนร้อน แกมี

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ60ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-34องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ40ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ60ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-35องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว10-30กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ70ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-34องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด24-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34-35องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ70ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด23-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-33องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ70ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด25-27องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-34องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว15-30กม./ชม.

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=116&auto_id=8&TopicPk=