องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด

Please wait while JT SlideShow is loading images...
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean Vietnamese

โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

อีเมล พิมพ์ PDF

โรคเอดส์

อาการแรก โรคเอดส์ และ HIV ต่างกันไหม โดยผู้เชี่ยวชาญ - YouTube

โรคเอดส์คืออะไร โรคเอดส์ คือ กลุ่มอาการของความเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ หรือเอชไอวี ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเอดส์อาจมีอาการได้มากมายหลายอย่าง เช่น มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัวการลุกลามของโรคเริม ปอดอักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ผอมลงและน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

โรคเอดส์

โรคเอดส์คืออะไร

โรคเอดส์ คือ กลุ่มอาการของความเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ หรือเอชไอวี ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเอดส์อาจมีอาการได้มากมายหลายอย่าง เช่น มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัวการลุกลามของโรคเริม ปอดอักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ผอมลงและน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

โรคเอดส์ จัดเป็นโรคที่ติดต่ออันตรายร้ายแรงโรคหนึ่ง เพราะผู้ติดเชื้อเอดส์ทุกรายจะเสียชีวิตในเวลาที่ไม่นานนัก ปัจจุบันยังไม่มีตัวยาใดๆที่จะรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ และยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ป้องกันโรคเอดส์ อย่างได้ผล


เมื่อไวรัสเอดส์เข้าสู่ร้างกายคนเราจะมีระยะฟักตัว เพื่อเพิ่มจำนวนไวรัสระยะหนึ่งก่อนเกิดอาการต่างๆผู้ติดเชื้อบางคนมีอาการของโรคเอดส์ภายใน 2-3 ปี หรือมากกว่านั้น โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆเลย เมื่อไวรัสเอดส์เข้าไปแพร่ในเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคต่างๆทำให้เม็ดเลือดขาวถูกทำลายจึงเป็นเหตุให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ไม่สามารถป้องกันตนเองจากเชื้อโรค ซึ่งไม่ทำให้เกิดโรคในคนปกติได้ เชื้อกันว่าผู้ติดเชื้อไวรัสเอดส์ทุกคนจะกลายเป็นโรคเอดส์ในโอกาสต่อไป

เนื่องจากไวรัสเอดส์มิได้ทำให้เกิดโรคกับคนโดยตรง แต่เป็นตัวทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับไวรัสเอดส์บกพร่อง เสียหายไปอาการของผู้ป่วยเอดส์ จึงไม่มีอาการเฉพาะที่จะบอกได้ว่าเป็นโรคเอดส์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรคที่ฉวยโอกาสทำให้เกิดโรคในผู้รับเชื้อไวรัสเอดส์นั้นเป็นเชื้ออะไร ดังนั้นผู้ป่วยเอดส์จึงมีอาการมากมายหลายระบบ เช่น ท้องเสีย ปอดอักเสบ หรือมะเร็งบางชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างได้

สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย

โรคเอดส์ เป็นโรคที่พบและมีรายงานเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2524 จากชายรักร่วมเพศ ในประเทศไทยมีรายงานของโรคเอดส์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2527 จากชายรักร่วมเพศเช่นกัน จากนั้นจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทย ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากปี พ.ศ.2527 ถึงปี พ.ศ.2531 มีผู้ป่วยเพียง 19 ราย จนกระทั่งล่าสุดในปี พ.ศ.2547 ( 30 มิ.ย. 47) มีรายงานผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เกิดภายในปีนี้มีถึง  326,651 ราย

การติดต่อ

ไวรัสเอดส์ พบได้ในปริมาณสูงในเลือดน้ำอสุจิ น้ำหลั่งในช่องคลอด และน้ำหลั่งต่างๆที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำไขสันหลัง, น้ำในช่องปอด, น้ำในช่องท้อง ,น้ำในช่องเยื่อหัวใจ นอกจากนี้ไวรัสเอดส์ยังพบได้อีกแต่ในปริมาณน้อย ในสิ่งเหล่านี้ เช่น น้ำนม , น้ำมูก , น้ำตา น้ำลาย  เสมหะ , เหงื่อ, อุจจาระ และปัสสาวะ
จากรายงานของสำนักระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยเอดส์ที่เสียชีวิตแล้ว  72,801 ราย พบมากในกลุ่มอายุ 25-29 ปี มี 26.12 % อายุ 30-34 ปี  25.59 % อายุ  35-39 ปี 16.05% เพศหญิงมีอัตราการป่วยสูงกว่าเพศชาย

ดังนั้นไวรัสติดต่อโดย

1.การมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์
2.การใช้เข็ม หรือของมีคมอื่นใดร่วมกับผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์ รวมทั้งมีการรับเลือดจากผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์
3.ทารกติดเชื้อไวรัสเอดส์จากมารดา ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือระหว่างคลอดหรือดื่มนมมารดามีเชื้อไวรัสเอดส์

โรคเอดส์ AIDS เอดส์ การป้องกันโรคเอดส์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอดส์
1.งดการสำส่อนทางเพศ
2.หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่ครองของตน ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
3.สตรีติดเชื้อไวรัสเอดส์ ควรขอคำแนะนำก่อนการตั้งครรภ์
4.หลีกเลี่ยงการรับเลือด โดยไม่จำเป็นหากมีความจำเป็น ต้องเป็นเลือดที่ผ่านการทดสอบว่าปราศจากเชื้อไวรัสเอดส์แล้วเท่านั้นและจะปลอดภัยยิ่งขึ้น หากได้รับเลือดจากผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติสำส่อนทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5.หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา มีดโกน รวมทั้งการฝังเข็ม และเจาะหู สักยันต์

แม้ว่าโรคเอดส์ จะเป็นโรคอันตรายร้ายแรงก็ตาม แต่เชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อเมื่อมีการกินอาหารร่วมกัน การสัมผัสกอดรัด จับมือหรือนั่งใกล้ และพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์เชื้อไวรัสเอดส์ จะไม่ติดต่อโดยการใช้ของใช้ที่ไม่มีคมร่วมกัน เช่น หวี เสื้อผ้า หรือการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม อีกทั้งเชื้อไวรัสเอดส์จะไม่ติดต่อโดยผ่านแมล เช่น ยุงหรือหมัด

ดังนั้นผู้ป่วยโรคเอดส์ จึงสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างปกติ