องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด

Please wait while JT SlideShow is loading images...
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean Vietnamese

โรคอีสุกอีใส

อีเมล พิมพ์ PDF

โรคอีสุกอีใส ตุ่มน้ำใสที่ขึ้นตามตัว

สาระน่ารู้..โรคอีสุกอีใส - Chiang Mai News

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ระบาดแผ่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือตามชุมชนที่อยู่อาศัยทั่วไป สามารถพบได้ตลอดทั้งปี จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสจำนวนมาก บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้น€œเสียชีวิต€

เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 5-9 ปี จะมีอัตราการป่วยสูงสุดคิดเป็น 579 คน ต่อประชากร 100,000 คน รองลงมาคือกลุ่มอายุ 0-4 ปี 10-14 ปี และกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปตามลำดับ

โรคอีสุกอีใส ในประเทศไทยนั้นสามารถเจอได้ตลอดทั้งปี เพียงแต่จะพบเจอได้เยอะในช่วงหน้าหนาว เนื่องจากพออากาศเย็นลงไวรัสจะอยู่ได้ดีขึ้น ก็จะพบโรคนี้มากขึ้น โดยลักษณะของอีสุกอีใสนั้นคือมีตุ่มใสขึ้นตามตัว แต่ทั้งนี้ปริมาณของตุ่มที่ขึ้นนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค บางคนมีอยู่ 40-50 ตุ่ม บางคนอาจมี 200 ตุ่ม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาการจะรุนแรง แต่สุดท้ายก็จะหายได้เองโดยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หากถามถึงความรุนแรงของโรคก็จะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อายุ เด็กเล็กช่วง 1 ปีแรก หรือผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ คนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะอาการที่รุนแรงกว่าคนปกติ โดยอีสุกอีใสนั้นจัดอยู่ในกลุ่มของ ไวรัส ชื่อเต็มๆคือ Varicella Zoster Virus

โดยตุ่มของอีสุกอีใสจะมีลักษณะคล้ายๆกันไม่ว่าจะเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม คือจะเป็นตุ่มแดงๆ ก่อนที่ในอีกชั่วโมงหรือไม่เกิน 1-2 วัน จะเป็นตุ่มใสๆ ต่อมาจะขุ่นขึ้นและกลายเป็นสะเก็ดในที่สุด โดยหากมองในภาพรวมจะเห็นตุ่มหลายๆระยะอยู่ในเวลาเดียวกัน บางคนที่เป็นเยอะตุ่มก็จะหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงของลำตัว แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจ็บ ยกเว้นว่าจะเป็นในช่องปาก โดยตุ่มเหล่านี้จะทำให้ก็อาการคันและส่งผลให้หลายๆคนเลือกที่จะเกาจุดที่คัน ซึ่งอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ส่งผลให้ตุ่มใหญ่ขึ้นและเป็นหนอง

อาการเริ่มต้นของอีสุกใส เริ่มจากการมีไข้ต่ำๆในเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง และภายใน 1-2 วันก็จะมีตุ่มขึ้น โดยจะเริ่มจากลำตัว ใบหน้า ก่อนจะลามไปถึงแขนและขา

การติดต่อของโรคอีสุกอีใส ดังนี้

1.ทางการสัมผัส ร่องแผล หรือตุ่มที่ขึ้นตามตัวของผู้ป่วย

2.การหายใจ สูดเอาละอองฝอยของน้ำลาย น้ำมูกที่มีเชื้อเข้าไป ซึ่งติดต่อได้ง่ายมาก โดยหลังจากรับเชื้อเข้ามาใช้เวลาประมาณ 14 -16 วัน ก่อนจะแสดงอาการ

แพทย์ชี้ผู้ป่วย อีสุกอีใส ระวังโรคแทรกซ้อน - Thaihealth.or.th |  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อีสุกอีใสส่วนใหญ่มักจะเป็นแค่ครั้งเดียว ซึ่งหากติดเชื้อแล้วก็มักจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่คนที่มีอาการซ้ำ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ

นอกจากนี้การเป็นอีสุกอีใสอาจจะนำพาไปสู่โรคงูสวัด เนื่องจากเมื่อเราหายดีแล้ว เชื้อจะยังไม่หมดไปจากร่างกาย โดยจะซ่อนอยู่ตามปมประสาทและเมื่อไหร่ที่ร่างกายเราอ่อนแอ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยรุนแรง หรือได้รับยากดภูมิต่างๆ เชื้อก็เกิดการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวและเกิดโรคขึ้นมา ส่งผลให้กลายเป็นโรคงูสวัด โดยจะเห็นเป็นตุ่ม เป็นปื้นๆ ตามแนวของเส้นประสาทที่เลี้ยงผิวหนังซึ่งจะเจ็บและปวดมาก

สำหรับวัคซีนป้องกันนั้น เหมาะสำหรับคนที่ไม่เคยเป็น โดยเด็กที่เล็กกว่า 12 ปี แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ถ้าเกิน 13 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก รายการพบหมอรามา Big Story ไม่ใช่แค่ใครก็เป็นได้! โรคอีสุกอีใส วันที่ 26 ธ.ค.59